โรคไตเรื้อรัง (ใช้ FUD)

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease – CKD) คือภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะยาว CKD มักจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ จนกว่าจะถึงระยะที่ลุกลามไปมากแล้ว โดยมักจะสังเกตพบระยะแรก ๆ ได้จากการทดสอบปัสสาวะหรือเลือด

อาการทั่วไปของโรคไตมีดังนี้: เหน็ดเหนื่อย ข้อมือ เท้า หรือมือบวม (เนื่องจากการบวมน้ำ) หายใจลำบาก คลื่นไส้ มีเลือดปนปัสสาวะ

โรคไตเรื้อรังสามารถถูกวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ

หากคุณมีความเสี่ยงต่อ CKD สูง แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นรายปี โดยการตรวจคัดกรองมักจะแนะนำแก่คนที่มีความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน มีประวัติครอบครัวเป็นโรค CKD




เหตุใดจึงเกิดโรคไตเรื้อรังขึ้น?

ไตคืออวัยวะรูปร่างเหมือนเม็ดถั่วสองชิ้นที่มีขนาดเท่ากำปั้น ไตอยู่ใต้กระดูกซี่โครงของร่างกายทั้งสองข้าง โดยหน้าที่หลักของไตคือการกรองของเสียที่เลือดผลิตออกมาและเปลี่ยนของเสียเหล่านั้นให้กลายเป็นปัสสาวะ ไตยังมีหน้าที่: ช่วยคงระดับความดันเลือด คงค่าระดับสารเคมีในร่างกายและช่วยให้หัวใจกับกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างปรกติ ผลิตวิตามิน D ที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ผลิตสาร erythropoietin ที่ช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

ใครสามารถเป็นโรคไตเรื้อรังได้บ้าง?


CKD มักเกี่ยวพันกับอายุที่มากขึ้น ยิ่งคุณมีอายุที่มากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคไตมากขึ้น คาดกันว่ามีผู้ชายหนึ่งในห้าคน และผู้หญิงหนึ่งในสี่คนที่มีอายุระหว่าง 65 กับ 74 ปีจะกลายเป็น CKD สักระยะ CKD จะเกิดบ่อยที่สุดกับคนที่มีพื้นเพจากเอเชียใต้ (อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา และปากีสถาน) กับคนผิวดำ เหตุผลก็เพราะว่าชาวเอเชียมีอัตราการเป็นโรคเบาหวานกับความดันโลหิตสูงกว่าคนชนชาติอื่นนั่นเอง

การป้องกันโรคไตเรื้อรัง

วิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด CKD ขึ้นคือการจัดการภาวะต้นเหตุของโรคนี้ อย่างเช่นเบาหวานและความดันโลหิตสูง การเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตก็สามารถลดความเสี่ยงต่อโรค CKD ได้ เช่น: การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การออกกำลังกายเป็นประจำ เลี่ยงการใช้ยาที่อาจสร้างความเสียหายแก่ไต

อาการของโรคไตเรื้อรัง

ผู้ป่วย CKD ส่วนมากจะไม่มีอาการใด ๆ เพราะว่าร่างกายสามารถทนต่อความบกพร่องของประสิทธิภาพการทำงานของไตได้ อีกนัยหนึ่งคือพวกเราเกิดมาพร้อมกับไตที่สามารถทำงานได้มากเกินความจำเป็นอยู่แล้ว แม้ว่าร่างกายจะเหลือไตที่ทำงานได้ดีเพียงข้างเดียวก็เพียงพอต่อการใช้ชีวิตแล้ว ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้คนมากมายสามารถรับการปลูกถ่ายไตที่มาจากผู้มีชีวิตได้ การเปลี่ยนแปลงการทำงานของไตมักจะตรวจเจอจากการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะทั่วไป หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไต แพทย์จะคอยสอดส่องการทำงานของไตคุณอย่างใกล้ชิดด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะเป็นประจำ อีกทั้งจะดำเนินการรักษาที่ช่วยควบคุมอาการให้มีน้อยที่สุด หากไตของคุณยังคงสูญเสียการทำงานลงไปเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ภาวะไตล้มเหลว (ERF) อาการต่าง ๆ จะเริ่มปรากฏออกมา ดังนี้: น้ำหนักลดและความอยากอาหารลดลง ข้อเท้า มือ หรือเท้าบวม หายใจติดขัด มีเลือดหรือโปรตีนปนปัสสาวะออกมา (โปรตีนในปัสสาวะมักตรวจพบจากการตรวจปัสสาวะ) ความอยากปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน นอนไม่หลับ คันผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ (ผู้ชาย) เสื่อมสมรรถนะทางเพศ (ไม่สามารถคงสภาพหรือไม่อาจทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้) อาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไป และสามารถเกิดได้จากหลายโรคภัย โดยอาการข้างต้นหลายอย่างสามารถเลี่ยงได้หากเริ่มการรักษาเร็วในขณะที่โรคยังคงอยู่ในระยะต้น ๆ หรือก่อนที่จะมีอาการอื่น ๆ ตามมา หากคุณมีความกังวลกับอาการข้างต้น ควรทำการนัดพบแพทย์ในทันที

สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

โรคไตมักเกิดมาจากภาวะอื่น ๆ ที่สร้างภาระให้แก่ไต อย่างความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หลักฐานมากมายบ่งชี้ว่าภาวะความดันโลหิตสูงเป็นต้นตอหลักของโรคไตโดยปรากฏเป็นสาเหตุมากกว่าหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยที่พบทั้งหมด ส่วนเบาหวานก็เป็นสาเหตุการเกิดโรคไตของผู้ป่วยประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยทั้งหมด

อ่านข่อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
https://www.honestdocs.co/the-chronic-kidney-disease

หากต้องการหาผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่จำเป็น สำหรับโรคไตเรื้อรัง ลองแวะเข้าไปศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ FUD เพิ่มเติมได้เลยครับ




ถ้าคุณชอบ ช่วยกด Like ถ้าคุณคิดว่าใช่ ช่วยกด Share กับ Line it ให้หน่อย นะคะ!

 

สร้างโดย : Admin  เมื่อวันที่ : 3/2/2562
แก้ไขล่าสุดโดย : Admin
เมื่อวันที่ : 21/12/2562 19:47:58
จำนวนผู้เข้าชม 4692 ครั้ง

Related Articles


ถ้าคุณชอบ ช่วยกด Like ถ้าคุณคิดว่าใช่ ช่วยกด Share

 

Powered by Aladin Plaza