ลักษณะของอัลฟัลฟ่า
- ต้นอัลฟัลฟ่า จัดเป็นพืชตระกูลถั่วมีฝักที่มีลำต้นสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร เจริญเติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก ลำต้นมีระบบรากที่มหัศจรรย์ เพราะในบางพื้นที่รากของต้นอัลฟัลฟ่าสามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้มากและบริสุทธิ์กว่าพืชอื่น ๆ อีกทั้งต้น"อัลฟาฟ่า"เองก็จะไม่สะสมสารพิษอีกด้วย
- ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก "อัลฟาฟ่า" มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม "อัลฟาฟ่า"ให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ "ราชาแห่งอาหารทั้งมวล"
- ได้มีการใช้"อัลฟาฟ่า"เพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบยยยยยยยยย "อัลฟาฟ่า"ยยยยยยยยย อ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบและดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ "อัลฟาฟ่า"ยังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ "อัลฟาฟ่า"ในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในสหรัฐอเมริการได้แนะนำให้ใช้ "อัลฟาฟ่า"เป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า "อัลฟาฟ่า"มีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย


ใบอัลฟาฟ่า

ดอกอัลฟาฟ่า

อัลฟาฟ่างอก
"อัลฟาฟ่า พลัส" คือสารประกอบที่ทำให้พืชมีสีเขียวและทำหน้าที่หลัก คือ สังเคราะห์แสง (Photosynthesis) โดยการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแร่ธาตุต่าง ๆ จากดินให้กลายเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งให้ก๊าซออกซิเจนที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์
"อัลฟาฟ่า" ธรรมชาติ มีหลายชนิด บางชนิดสังเคราะห์แสงได้ในที่ที่มีแสงแดดเท่านั้น แต่บางชนิดสังเคราะห์แสงได้แม้ในที่ไม่มีแสง เช่น ในร่างกายของคน จึงมีการค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงาน หรือปฏิกิริยาของคลอโรฟิลล์ต่อคน พบว่า
"คลอโรฟิลล์ที่อยู่ในเซลล์ของพืชทั่วไปจะถูกปกป้องและปิดกั้นด้วยผนังหรือเยื่อหุ้มเซลล์อีกทีหนึ่ง ทำให้ระบบย่อยอาหารปกติของร่างกายเราไม่สามารถบดย่อย เพื่อให้ได้สารคลอโรฟิลล์เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ "
ถึงแม้ว่าเราจะบริโภคผักใบเขียวเป็นจำนวนมากอย่างไรในแต่ละวันก็ตาม อีกทั้งคลอโรฟิลล์โดยตัวมันเองละลายน้ำไม่ได้ จะละลายได้ในไขมัน หรือในบางรูปของแอลกอฮอล์เท่านั้น
แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราสามารถสกัดเอาเฉพาะสารคลอโรฟิลล์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์และบริสุทธิ์ โดยปราศจากการสูญเสียคุณค่าทางอาหารตามธรรมชาติ ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีอย่างเต็มที่ และเป็น
"คลอโรฟิลล์ชนิดละลายน้ำได้ จึงดูดซึมได้ทันทีในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ร่างกายใช้ไม่หมด จะถูกขับทิ้งไปทางระบบขับถ่าย ไม่สะสมไว้ในร่างกาย"
ผิดกับคลอโรฟิลล์ชนิดที่ละลายในไขมัน จะไม่ถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหาร แต่จะย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็ก คลอโรฟิลล์ชนิดนี้เมื่อร่างกายใช้ไม่หมด จะถูกส่งต่อไปสะสมไว้ที่ตับ (liver) ในระยะเวลาหนึ่ง อาจเกิดอันตรายต่อตับได้
องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงให้การรับรองเฉพาะคลอโรฟิลล์ที่ละลายน้ำได้ (WATER SOLUBLE CHLOROPHYLL) เท่านั้น ว่าปลอดภัยต่อการบริโภคของคน ถึงแม้ว่าจะบริโภคในปริมาณมากต่อวัน ก็ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็มีเพียงอาการท้องเสียอย่างเบาบางกรณีเท่านั้น
ssssssssss

สูตรโครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟิลล์กับเลือดมนุษย์
ด้วยสูตรโครงสร้างของโมเลกุลที่ใกล้เคียงกับโมเลกุลของเม็ดเลือดแดง
"ต่างกันเฉพาะตรงกลางที่คลอโรฟิลล์มีแมกนีเซียม(Mg) และเม็ดเลือดแดงมีเหล็ก (Fe)"
จึงทำให้สีของมันต่างกัน คือ
"คลอโรฟิลล์มีสีเขียว แต่เม็ดเลือดมีสีแดง"
จากจุดนี้เองที่ทำให้คลอโรฟิลล์ถูกเรียกว่า “เลือดของพืช” (Blood of Plant)
ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มากมาย สรุปตรงกันว่า คลอโรฟิลล์สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ จนทำให้ผู้วิจัยได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ไปแล้วถึง 2 ท่านด้วยกัน คือ ดร.ริชาร์ด วินสเตตเตอร์ (DR.RICHARD WINSTATER) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยออสเตรีย ในปี ค.ศ.1915 และ ดร.ฮันส์ ฟิชเชอร์ (DR.HANS FISHER M.D.) นายแพทย์ชาวเยอรมัน ในปีค.ศ. 1930 ผู้ซึ่งค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างเม็ดเลือดแดงและคลอโรฟิลล์
ประโยชน์ของอัลฟัลฟ่า
- อัลฟัลฟ่างอก จัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่นิยมนำมาใส่สลัด (มีกลิ่นคล้ายกับถั่วลันเตา) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังมีไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งช่วยป้องกันมะเร็งได้
- ใบตากแห้งใช้ชงเป็นชาดื่มเพื่อสุขภาพ
- อัลฟัลฟ่าเป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างหลากหลายและครบถ้วน มันจึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ
- ต้นอัลฟัลฟ่ามีสารสำคัญอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น เช่น สารในกลุ่มอโซฟลาโวนอยด์ (isoflavonoids) สารในกลุ่มซาโปนิน (Saponins) สารในกลุ่มสเตียรอยด์ (Steroids) รวมไปถึงสารในองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น คาร์โบไอเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เกลือแร่ เอนไซม์หลัก 8 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 8 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
- อัลฟัลฟ่าเป็นพืชที่อุดมไปด้วย Chlorophyllยยยยยยยยย
- สารไฟโตเอสโตรเจนเป็นตัวช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย การรับประทานอัลฟัลฟ่าจะช่วยทำให้ผู้ที่เป็นสิวง่าย มีปริมาณการเกิดสิวลดลง ทำให้ผิวหน้าดูสะอาดขึ้น
- อัลฟัลฟ่าอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด รวมไปถึงเกลือแร่และโปรตีน จึงนิยมนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่าง ๆ เช่น การนำมาใช้ผสมในครีมอาบน้ำ ในผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม เป็นต้น และยังพบว่ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์ยาเม็ดสำเร็จรูป หรือเป็นแบบต้นแห้งสำหรับชงน้ำร้อนดื่ม
- ชาวอาหรับโบราณรู้จักนำอัลฟัลฟ่ามาใช้ประโยชน์มานานแล้ว โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงม้า เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วและเพิ่มความแข็งแรงให้กับม้า
สรรพคุณของอัลฟัลฟา
- อัลฟัลฟ่ามีสารแคโรทีนและอุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องการฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลาย ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- สารไฟโตเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โดยสารที่จัดเป็นสารประเภทไฟโตรเอสโตรเจนที่มีอยู่ในอัลฟัลฟ่าได้แก่ Isoflavones, Coumestans และสาร Lignans แต่ในปัจจุบันยังไม่มีขนาดแนะนำในการรับประทาน แต่อย่างไรก็ดีการเพิ่มการบริโภคอาหารที่สารดังกล่าวจะสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งในร่างกายได้เป็นอย่างดี
- สารซาโปนินมีรสขม มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร จึงช่วยทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
- สารซาโปนินที่พบในอัลฟัลฟ่า มีลักษณะเหมือนกันกับที่พบในรากโสม ซึ่งมันมีสรรพคุณช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างเหมาะสมและเป็นปกติ
- อัลฟัลฟ่ามีเบตาแคโรทีนสูง ซึ่งเป็นตัวช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย ช่วยทำให้ผิวหนังและเยื่อบุผิวหนังมีสุขภาพดี
- อัลฟัลฟ่าอุดมไปด้วยธาตุฟลูออไรด์และแคลเซียม มันจึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี
- ช่วยบำรุงเส้นผม ลดอาการผมร่วง ทำให้ผมหงอกกลับดำขึ้น
- ช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคต้อกระจกมองเห็นได้ดีขึ้น
- ช่วยลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ
- ช่วยลดระดับน้ำตาลและปรับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ในสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ใช้อัลฟัลฟ่าในการรักษาภาวะโลหิตจาง
- ช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด
- ช่วยกำจัดของเสีย ขับสารพิษออกจากร่างกาย ขับสารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน ลดการตกค้างของของเสียตามผิวหนัง ช่วยทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ผิวพรรณผ่องใสและสุขภาพที่ดีตามมา มันจึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ชอบรับประทานเนื้อสัตว์
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเมล็ดเลือดแดง ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
- สารซาโปนินจะช่วยลดการอุดตันของเกล็ดเลือดในเส้นเลือดฝอย ช่วยลดอัตราของการเกิดความจำเสื่อม และภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
- ช่วยส่งเสริมการดูดซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย
- อัลฟัลฟ่ามีส่วนช่วยฟื้นฟู บรรเทาอาการของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะติดสารเสพติดและติดแอลกอฮอล์ได้
- ช่วยทำให้ผู้ที่เป็นภูมิแพ้มีอาการที่ดีขึ้น
- วิตามินเคจากอัลฟัลฟ่า จะช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
- จากการศึกษาพบว่าสารซาโปนินและสารประกอบอื่นในอัลฟัลฟ่ามีความสามารถในการยึดติดในคอเลสเตอรอลกับเกลือน้ำดี ช่วยป้องกันและชะลอการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหาร จึงช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในหลอดเลือด และช่วยควบคุมระดับความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลให้เป็นปกติ โดยในการศึกษาจากผู้ป่วยจำนวน 15 คน ที่ให้อัลฟัลฟ่าในขนาด 40 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 8 วัน พบว่าผู้ป่วยมีระดับคอเลสเตอรอลรวมและไขมันเลว (LDL) ลดลงประมาณ 17-18% ในขณะที่บางส่วนสามารถลดได้ถึง 26-30%
- อัลฟัลฟ่ามีไฟเบอร์จากธรรมชาติอยู่สูงมาก และยังมีประโยชน์ในการช่วยฟื้นฟูภาวะลำไส้อ่อนแอ ช่วยในการลำเลียงของเสียออกจากระบบได้เป็นอย่างดี จึงทำให้หลอดลำไส้มีสุขภาพที่ดี
- ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารและอาการดูดซึมอาหารได้ไม่ดี
- แพทย์ชาวจีนได้มีการนำใบอัลฟัลฟ่าอ่อนเพื่อใช้ในการรักษาอาการย่อยไม่เป็นปกติ เช่นเดียวกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบและดอกในการรักษากระบวนการย่อยที่ทำงานได้น้อย (ใบ, ดอก)
- มีแพทย์จำนวนมากที่ใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร เช่น การมีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก มีอาการจุดเสียดเป็นประจำ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคเบื่ออาหาร เป็นต้น และอัลฟัลฟ่ายังมีเอนไซม์ที่ช่วยทำให้การดูดซึมอาหารภายในร่างกายเป็นปกติ มีสารที่ช่วยเคลือบผิวของกระเพาะอาหารให้มีความแข็งแรง และยังพบว่าอัลฟัลฟ่าสามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องเนื่องจากมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ได้เป็นอย่างดี
- อัลฟัลฟ่ามีคุณสมบัติที่ช่วยในการขับถ่ายและการปัสสาวะให้เป็นปกติ ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก บรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร
- อัลฟัลฟ่ายังถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ในกระเพาะปัสสาวะ ไต และต่อมลูกหมากที่ทำงานผิดปกติ
- อัลฟัลฟ่างอกเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะการหมดประจำเดือนของสตรี (อัลฟัลฟ่างอก)
- สาร Isoflavone ในอัลฟัลฟ่าถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (Phytooestrogen) ซึ่งในสตรีในช่วงใกล้หมดประจำเดือนจะมีระดับเอสโตรเจนต่ำลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและเกิดภาวะกระดูกเสื่อม และสารดังกล่าวจะเข้าไปช่วยชดเชยระดับเอสโตรเจนที่ต่ำลง อีกทั้งยังช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดอาการผิดปกติในช่วงมีประจำเดือน เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย มีอาการร้อนวูบวาบตามตัว เป็นต้น
- ช่วยปรับสภาพของผู้หญิงวัยทอง ลดปัญหาอันเกิดเนื่องมาจากภาวะวัยทอง
- อัลฟัลฟ่าถูกนำมาใช้ในประเทศจีนตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 6 โดยนำมาใช้เพื่อรักษาโรคไต และเพื่อบรรเทาอาการตัวบวมอันเนื่องมาจากการกักเก็บน้ำในร่างกายที่มากเกินไป
- ชาวอินเดียในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้อัลฟัลฟ่าในการรักษาโรคดีซ่าน
- มีการใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อช่วยบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ แก้อาการปวดข้อ ข้อแข็ง และรูมาตอยด์ เนื่องจากอัลฟัลฟ่าจะช่วยปรับสมดุลของกรดด่างในร่างกาย ช่วยป้องกันการสะสมตัวของกรดยูริกและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งจากหนังสือ Feel Like a Million ของแคทเทอรีน เอลวูล ได้ระบุว่าเมื่อให้ผู้ป่วยรูมาตอยด์ใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อรักษาอาการปวดตามข้อ พบว่าผู้ป่วยสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและอาการเจ็บปวดก็หายไป
- ช่วยระงับอาการปวดในโรคข้ออักเสบและถุงน้ำต่าง ๆ
- ช่วยลดแผลอักเสบ
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- ช่วยทำให้อาการชา บวม และเส้นเลือดขอดบรรเทาลง[
- อัลฟัลฟ่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนมของแม่ได้ดีมากขึ้น

Promotion Priceยยยยยยยยย

อาการปรับสภาพร่างกายเมื่อดื่มอัลฟาฟ่าพลัส
#เวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน
#ปวดตามข้อ ท้องเสียปัสสวะบ่อย
#ร้อนวูบวาบเหงื่อออก
#ง่วงนอน
***ไม่ต้องตกใจ ให้ดื่มต่อไปเรื่อยๆ เกิดจากการปรับสภาพภายในร่างกายของเราเอง ดื่มไปสักระยะ ร่างกายจะปรับสมดุลได้เอง***
ยยยยยยย